“โครงการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาลในเขตมือง จ.ปทมุธานี เพื่อผู้ป่วยภาวะวิกฤต-ฉุกเฉิน” สร้างความร่วมมือครั้งสำคัญ พัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขเพื่อชีวิตประชาชน

   เมื่อ : 20 ก.พ. 2568

20 กุมภาพันธ์ 2568 – ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี โรงพยาบาล ภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชน จัด “งานประชุมวิชาการนำสนอผลการดำเนินงานและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) โครงการขับเคลื่อนนโยบาย โรงพยาบาลในเขตเมือง จ.ปทุมธานีเพื่อผู้ป่วยภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน”

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกล่าว เปิดงาน นายคมสัน ญาณวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทมุธานี เป็นประธานร่วมเปิดงาน นายแพทย์อุดม อัศวุ ตมางกุร สาธารณสุขนิเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 เป็นผู้กล่าวรายงาน และ นายแพทย์ภุชงค์ ไชยชิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่ง  ดังนี้ 1. โรงพยาบาลแพทย์รังสิต 2. โรงพยาบาล บางปะกอก-รังสิต2 3. โรงพยาบาล กรุงไทยเวสเทิร์น จ.นนทบุรี 4.  โรงพยาบาล ภัทร-ธนบุรี 5. โรงพยาบาล เกษมราษฎร์ ปทุมธานี 6. โรงพยาบาล ซีจีเอสลำลูกกา 7. โรงพยาบาลกรุงสยาม เซนต์คาร์ลอส 8. โรงพยาบาล ปทุมเวช 9. โรงพยาบาลเปาโล รังสิต และได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สมชาติ สุจริตรังษี  ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 นายแพทย์ชัยรัตน์ วงศ์วรพิทักษ์ รองผู้อำนวยการ  โรงพยาบาลปทุมธานีและ นายสิทธิศักดิ์ กี่สวัสดิ์คอน ผู้แทนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยานโครงการขับเคลื่อนนโยบาย โรงพยาบาลในเขตเมือง จ.ปทมุธานี มีวัตถุประสงค์ 

  • เพื่อพัฒนาการบริการร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน 
  1. ยกระดับระบบบริการโรงพยาบาลในเขตเมือง ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ 
  2. ลดอัตราการเสียชีวิตระหว่างรอเตียง ด้วยการส่งต่อผู้ป่วยแบบไร้รอยต่อ 
    1. เพิ่มความมั่นใจในระบบ สิทธิการรักษาเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (UCEP) และสิทธิหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า (UC) สำหรับผู้ป่วยหลังภาวะฉุกเฉินวิกฤต และ โรงพยาบาลเอกชน  ผลลัพธ์ของโครงการฯ 
  3. แก้ปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตรอเตียง รอห้องผ่าตัด (OR) และห้อง ICU 
    1.1. ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตระหว่างรอการรักษา
    1.2. ลดการเดินทางส่งตัวผู้ป่วยข้ามเขตจังหวัด (กรณีมีแหล่งพักอาศัยในจังหวัดปทมุธานีแต่มีสิทธิ์รักษาที่จังหวัดอื่น) 2. เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน 
    2.1. ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี แอปพลิเคชันกลาง สำหรับอัปเดตข้อมูลผู้ป่วยร่วมกันแบบเรียลไทม์ 2.2. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ได้รับข้อมูลเดียวกัน ลดโอกาสเกิดการสื่อสารผิดพลาด 
  4. สร้างความมั่นใจให้แก่ โรงพยาบาลเอกชน 
    3.1. พัฒนาระบบ Refer Back เพิ่มความมั่นใจว่า โรงพยาบาลรัฐ มีเตียงพร้อมรับผู้ป่วยกลับมาดูแลต่อเมื่อพ้นภาวะ ฉุกเฉินวิกฤตแล้ว 3.2. กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินวิกฤต ในเวลา 72 ชั่วโมง
    3.3. กองทุนสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี รองรับค่าใช้จ่ายหากผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร ทอง)  ต้องอยู่โรงพยาบาลเอกชนต่อหลังจาก 72 ชั่วโมง เนื่องจาก ผู้ป่วยยังไม่พ้นวิกฤต / โรงพยาบาลรัฐไม่มีเตียง รองรับ.  
  • 6. คลายกังวลให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดปทุมธานี                             
    4.1. เมื่อเกิดเหตุภาวะวิกฤตฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการบริการได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ตามสิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) 
    โดยปัจจุบัน โครงการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาลในเขตเมืองจังหวัดปทุมธานี  มีจำนวนเตียงในห้อง ICU เพิ่มขึ้นเป็น 143 เตียงและมีจำนวนห้องผ่าตัด (OR) เพิ่มขึ้นเป็น 41 ห้อง ทำให้การรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ในระยะเวลาที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์ในระบบโครงการโรงพยาบาลในเขตเมืองแล้วทั้งสิ้น 30 รายแบ่งเป็น  ผู้ป่วยจากระบบ EMS: 29 ราย  ผู้ป่วยจากระบบ Refer: 1 ราย 
    ผู้ป่วยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี: 2 ราย  (ข้อมูล ณ วันที่ 14 ก.พ. 2568) 
    “โครงการฯ นี้ไม่เพียงเป็นการพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขให้แข็งแกร่งขึ้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีได้รับการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถือว่าเป็นต้นแบบระบบบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน” 
    ดูรายละเอียด หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เมล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี 
    Facebook : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี โทร: 02-581-6454 ต่อ 112-3

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ